วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การถ่ายพลุ ให้สวย อย่างง่าย ๆ

เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

อีกไม่นานก็จะลอยกระทง และเข้าสู่เทศกาลปีใหม่ 2015 แล้วนะครับ ช่วงนี้จะมีการจุดพลุเยอะเป็นพิเศษ พอเรารู้ข่าวว่าจะมีการจุดพลุสวย ๆ ก็เกิดข้อสงสัยว่า จะถ่ายยังไงดี ถึงจะได้ภาพออกมาสวย สามารถนำไปโชว์เพื่อน ๆ ได้


วันนี้ก็จะมาเล่าประสบการณ์ เกี่ยวกับการถ่ายพลุของผมนะครับ จะพยายามเล่าให้ง่ายที่สุดครับ


ในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น ปีใหม่ ลอยกระทง หรือเทศกาลพลุนานาชาติ หรือการจุดพลุในทะเลที่พัทยา หรือหัวหิน นับเป็นโอกาสอันดีที่พวกเราจะใช้กล้อง DSLR ของเราไปถ่ายพลุกัน 

ในอดีตกล้องใช้ฟิล์ม จึงเป็นการสิ้นเปลืองมากในการถ่ายพลุ แต่ในปัจจุบัน เราถ่ายพลุด้วยกล้อง Canon, Nikon ของเรา ถ่ายเสร็จปั๊ป ถ้าไม่ได้ดั้งใจ ก็ทำการปรับเล็กน้อย แล้วถ่ายใหม่ได้ เรียกได้ว่า ไปถ่ายครั้งนึง ได้ภาพพลุสวย ๆ กลับบ้านมาเพียบเลย


เกริ่นพอไปสมควร คราวนี้ผมก็จะมาเข้าเรื่องแล้ว ว่าการถ่ายพลุ หรือการถ่ายดอกไม้ไฟให้สวย ต้องทำอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นก็ขอพูดถึงอุปกรณ์ก่อนนะครับ
  • กล้อง DSLR ไม่ว่าจะเป็น Canon, Nikon, Sony หรืออะไรก็ได้ ใช้ได้หมดนะครับ พยายามหารุ่นที่มีโหมดชัตเตอร์ B นะครับ 
  • เลนส์ไวด์ จริงๆ ใช้เลนส์เทเล่ หรือเลนส์อะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ผมอธิบายที่เค้านิยมกันนะครับ เพราะการถ่ายพลุ จะให้สวย ไม่ใช่ถ่ายมาแค่ตัวพลุ การถ่ายให้ติดสถานที่มาบางส่วน เพื่อเล่าเรื่องราวว่า เราถ่ายพลุที่ไหน งานอะไร ก็จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และความน่าค้นหาของภาพได้มากขึ้นเลยนะครับ
  • ขาตั้ง ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการถ่ายพลุให้สวยเทพ (แต่ถ้าไม่ต้องการสวยมาก มือเปล่าก็ได้นะครับ แต่ผมลองหลายทีแล้ว ถ่ายได้ แต่โชว์ใครไม่ได้ อายเค้า)
  • สายลั่นชัตเตอร์ ก็เช่นเดียวกันครับ แต่ถ้าไม่มี ก็ใช้โหมดตั้งเวลาก็ได้ แต่บางทีอาจกดไม่ค่อยทัน ทำให้มีโอกาสที่จะพลาดช็อตสงาม ๆ ไปเยอะครับ
  • ผ้าดำ สำหรับการทำเทคนิคพิเศษ (ภาพซ้อน) 
  • ไฟฉาย สำหรับส่องปุ่มต่าง ๆ ของกล้อง เนื่องจากบางที เราต้องไปอยู่ในสถานที่ซึ่งมืดมาก หรือเอาไว้ส่องเวลาทำของหล่นพื้น เป็นต้น สำหรับคนที่ลืมเอาไฟฉายไป ให้โหลดแอปไฟฉายในสมาร์ตโฟนมาใช้ก็ได้นะครับ เยอะแยะมาก
พลุที่ถนนราชดำเนิน

พลุที่ถนนราชดำเนิน บริเวณอนุสาวรีย์

พลุแบบเส้น ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วิธีการถ่ายพลุ

- วางกล้องบนขาตั้ง จัดองค์ประกอบ (เวลาถ่ายพลุ แฟลชไม่ต้องใช้นะครับ)

- โฟกัสให้เรียบร้อย บริเวณแถว ๆ ที่จะจุดพลุ หาจุดอ้างอิงซักจุดนึง และเปลี่ยนเป็นระบบแมนนวลโฟกัส (อันนี้สำคัญมากๆ ครับ ถ้าใช้ระบบ auto เวลาจุดพลุจริงๆ อาจมีอาการกดชัตเตอร์ไม่ลงก็เป็นได้ เนื่องจากไม่ได้โฟกัสเป๊ะๆ) ดังนั้นจึงต้องใช้ระบบแมนนวลโฟกัส โดยการโฟกัสไว้ล่วงหน้าให้เรียบร้อยก่อน

- เปิดโหมดชัตเตอร์ B (ใช้คู่กับสายลั่นชัตเตอร์ ด้วยวิธีการกดค้างจนพอใจ แล้วปล่อยเมื่อต้องการปิดหน้ากล้อง)

5D Mark II + EF 16-35 f/2.8L
Settings: ISO100, f/14, speed 4s 

- ตั้ง ISO ต่ำสุด ISO 100

- ใช้ f แคบ f/8, f/11, f/14 ตามสถานการณ์นะครับ โดยส่วนตัวผม ชอบ f/8 กับ f/11 ครับ

- เปิดชัตเตอร์นาน 2 วินาที, 4 วินาที หรือ 8 วินาที กดค้างและนับในใจ (กะ เอา) และปล่อยเมื่อรับแสงพอแล้ว

5D Mark II + EF 16-35 f/2.8L
Settings: ISO100, f/14, speed 4s 

เทคนิค (เพิ่มเติม)

อย่างที่ผมเคยอธิบายในบล็อกก่อนหน้านี้ไปแล้ว เกี่ยวกับแสงต่อเนื่อง และแสงไม่ต่อเนื่องนะครับ พลุก็เป็นแสงไม่ต่อเนื่องชนิดหนึ่ง ซึ่งยิงออกมาแล้วหมดไป ดังนั้นในบางสถานการณ์ เราอาจใช้อุปกรณ์ช่วย (คือผ้าดำ) เพื่อทำเทคนิคพิเศษ (การซ้อนภาพ) ได้ โดยที่คนดูภาพไม่ทราบแต่อย่างใด

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/11, speed 4s 

ยกตัวอย่างเช่น ในแม่น้ำมีเรือจอดอยู่เพื่อยิงพลุ และมีฉากเป็นสะพานแขวน ซึ่งอยู่อีกด้านหนึ่งของกล้อง แต่โชคไม่ดีที่เราอยู่ในมุมที่ไม่ดี ไม่สามารถถ่ายให้เห็นทั้งพลุและสะพานแขวนพร้อมกันได้ ถ้าเกิดถ่ายธรรมดาๆ จะเห็นแค่ตัวพลุ แต่ไม่เห็นบรรยากาศรอบข้าง (มุมบังคับ หรือมาไม่ทัน ที่ดีๆ โดนคนอื่นจองไปหมดแล้ว) แต่ถ้าถ่ายแค่สะพาน ก็จะไม่เห็นพลุ เป็นต้น เราสามารถประยุกต์การถ่ายภาพของเราได้ดังนี้

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/11, speed 4s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/11, speed 4s 

- ตั้งกล้องเพื่อถ่ายพลุปกติ
- เมื่อเก็บแสงพลุเรียบร้อยแล้วโดยการกดสายลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ อย่าเพิ่งปล่อย ให้รีบคลุมกล้องด้วยผ้าดำ จากนั้นหมุนกล้องไปในทิศทางที่สามารถเก็บภาพสะพานได้
- เปิดผ้าดำออก รอเวลาอีกครู่หนึ่ง ไม่กี่วินาที เพื่อให้แสงของสะพานเข้าไปในเซนเซอร์
- ปล่อยสายลั่นชัตเตอร์เพื่อปิดหน้ากล้อง เป็นอันเสร็จพิธี

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/11, speed 4s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/9, speed 8s 

ผลลัพธ์ที่ได้

หากดำเนินการตามที่อธิบายด้านบน จะได้ภาพสะพานที่สวยงาม พร้อมกับภาพพลุซ้อนกันอย่างสวยงาม เนื่องจากในขณะที่เราใช้ผ้าดำคลุมกล้องนั้น ไม่มีแสงกระทบเซนเซอร์กล้อง ดังนั้น ไม่ว่าจะเปิดหน้ากล้องทิ้งไว้นานเท่าใด ภาพก็ยังคงเหมือนเดิม ไม่สว่างขึ้นแต่อย่างใด และการที่เราเปิดผ้าดำเพื่อเก็บแสงของสะพานในภายหลังนั้น จะทำให้แสงกระทบเซนเซอร์ แต่บริเวณที่ถ่ายพลุไว้แล้ว ก็ยังคงอยู่ . . . อย่างนี้เป็นต้น

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/9, speed 3s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO100, f/9, speed 4s 

บางคนอาจประยุกต์โดยการถ่ายสะพานก่อน แล้วค่อยคลุมผ้าดำ และรอเวลาจนยิงพลุ แล้วค่อยเปิดผ้าดำเพื่อเก็บแสงในภายหลังก็ได้นะครับ ยังไงลองทำกันดู แล้วได้ผลยังไง เอามาโชว์กันด้วยนะครับ ในชุมชน Low Light ของผมก็ได้นะครับ

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/11, speed 3s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/8, speed 5s 

เรื่องราวเพิ่มเติม (เพื่อดึงอารมณ์คนชมภาพให้มีส่วนร่วม)

การถ่ายพลุนั้น บางครั้ง เราไม่ควรถ่ายมาแต่พลุอย่างเดียว ควรใส่เรื่องราวลงไปในภาพพลุของเราด้วย เช่น ถ่ายงานอะไร ถ่ายที่ไหน ถ่ายกับใคร ดังนั้น บางทีการถ่าย อาจต้องมีการเปลี่ยนมุมกล้อง หรือระยะการซูมอะไรบ้างนิดหน่อยนะครับ เปลี่ยนระยะซูมทุกครั้ง อย่าลืมโฟกัสใหม่ทุกครั้งนะครับ เพื่อให้ภาพมีความหลากหลายมากขึ้น

พลุที่สะพานแขวน ตึกกสิกรไทย
5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/8, speed 3s 

พลุที่สะพานพระราม 9 ตึกกสิกรไทย
5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/10, speed 2s 

พลุที่สะพานพระราม 9 พร้อมคนดูมากมาย เห็นเป็นเงา
5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/10, speed 2s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/10, speed 2s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/10, speed 2s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/9, speed 3s 

5D Mark II + EF 24-105 f/4L
Settings: ISO200, f/6.3, speed 2s 

อีกเทคนิคหนึ่ง คือกล้อง DSLR สมัยนี้ ถ่ายวิดีโอระดับ 1080p กันได้หมดแล้ว บางครั้ง ถ่ายภาพมาเยอะ ๆ แล้ว ก็น่าจะถ่ายวิดีโอแบบ Full HD เก็บไว้โชว์บ้างซักเล็กน้อย ก็ได้บรรยากาศดีเหมือนกันนะครับ. . .
Taken by Canon EOS 5D Mark II

บางทีคนอื่นๆ มีแต่ภาพนิ่งเต็มไปหมด แต่ของเรามีวิดีโอแถมมาด้วย เรื่องความคมชัดและสีสวย เหนือกล้องวิดีโอแท้ ๆ เยอะครับ จะแพ้ก็ตรงไม่มีระบบกันสั่นนี่แหละครับ ดังนั้น อย่าลืมวางบนขาตั้งทุกครั้งครับท่าน. . . .
Taken by Canon EOS 5D Mark II

Taken by Canon EOS 5D Mark II

ไม่ใช่แค่เลนส์ไวด์เท่านั้นที่ถ่ายพลุได้ ในกรณีที่เราอยู่ห่างไกลมาก ๆ เช่นบนยอดตึกไกลจากที่จุดพลุ การใช้เลนส์ 70-200 ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการถ่ายพลุเช่นกันนะครับ เพราะคนส่วนมาก จะเข้าไปใกล้ที่สุด แล้วถ่ายพลุด้วยเลนส์ไวด์กัน ดังนั้น ภาพของเราจะดูแปลกออกไปจากคนอื่นครับ

Taken by Canon EOS 5D Mark II + EF 70-200 f/4L
Settings: ISO100, f/8, speed 5s 

Taken by Canon EOS 5D Mark II + EF 70-200 f/4L
Settings: ISO100, f/8, speed 3s 

สำหรับบริเวณที่มีการจุดพลุในช่วงปีใหม่นะครับ ยกตัวอย่างเช่น สะพานสาทร เซ็นทรัลเวิลด์ หรือริมแม่น้ำต่าง ๆ มีเกือบทุกแห่งครับ 

เล่าประสบการณ์ไปยาวพอสมควรนะครับ สำหรับคำถามที่ว่า "ถ่ายพลุยังไง" เอาไว้เดี๋ยวผมจะหาเทคนิคต่าง ๆ ที่เรียนรู้มา แล้วมาเล่าเรื่องให้อ่านกันอีกนะครับ ไว้พบกันใหม่ครับ . . .

* ถ้าชอบเทคนิคการถ่ายภาพ และรูปที่ผมถ่าย ช่วยทวีต และแชร์ใน G+ หรือเฟซบุ๊คด้วยนะครับ
* ผมจะพยายามเขียนเทคนิคการถ่ายภาพเท่าที่ศึกษามา และประสบการณ์ส่วนตัวในการถ่ายสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยภาษาที่ง่าย ๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ถ่ายภาพออกมากันสวย ๆ นะครับ blog.suaythep.com แชร์ด้วยใจ. . .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น